top of page
  • Facebook
  • Instagram
  • Whatsapp
  • Youtube

สำนักวิปัสสนากรรมฐาน

วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ ๑

157 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 50160

ประวัติและความเป็นมา

งานเผยแผ่ด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในแนวสติปัฏฐาน ๔ ถือได้ว่า เป็นเป้าหมายหลัก ในการในการทำงานทางศาสนาเมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่ พระพรมมงคล (หลวงปู่ทอง สิริมงฺคลโล) มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร (ขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์ ที่ พระครูพิพัฒน์คณาภิบาล (ทอง สิริมงฺคโล) เจ้าคณะอำเภอฮอด) เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๔ ท่านก็มาฟื้นฟูที่แห่งนี้ให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรม วิปัสสนากรรมฐานในแนว สติปัฏฐาน ๔ ซึ่งแต่เดิมนั้นอดีตเจ้าอาวาสเคยเปิดให้มีการปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานอยู่บ้าง ท่านจึงมาส่งเสริมให้พระเณรในวัดเข้าปฏิบัติธรรม รวมทั้ง ญาติโยม ชาวบ้าน ศรัทธาวัดพระธาตุศรีจอมทอง ให้ได้เข้าวัดปฏิบัติธรรมกันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลอดช่วงเข้าพรรษาของทุกปี จะมีญาติโยม กลุ่มปฏิบัติธรรมที่จะมานอนวัด รับศีลอุโบสถ กันทุกวันพระ “วัดพระธาตุศรีจอมทอง มาตั้งสำนักวิปัสสนาโดยหลวงปู่ แต่ว่าสมัยก่อนก็เคยมีการปฏิบัติ วิปัสสนา เพราะว่าท่านเจ้าคุณพระสุวรรณโมลี (ครูบาคำ อคฺคปญฺโญ ป.ธ.๖) ก็ได้ไปปฏิบัติธรรมที่วัดมหาธาตุ ฯ เหมือนกัน และท่านพระครูสุนทรพรหมคุณ (ครูบาบุญชุม ขนฺติโก) รองเจ้าคณะอำเภอจอมทอง วัดน้ำตกแม่กลาง ในขณะนั้นก็ได้ไปปฏิบัติ หลวงปู่มาสร้างกุฏิกัมมัฏฐาน มาเปิดสำนักโดยมีพระมหาแสวง ปญฺญาปชฺโชโต (ปัจจุบัน พระสุวรรณเมธี เจ้าคณะอำเภอจอมทอง เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร ) พระเพชร วชิรญาโณ (ปัจจุบัน พระครูโสภณสุวรรณาทร วิ. เจ้าคณะตำบลดอยแก้ว ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร ) โดยมีศรัทธาบางคน เช่น นางปัน นันทนา มาเข้าปฏิบัติธรรมด้วย”

พ.ศ. ๒๕๔๖ วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร ได้รับการจัดตั้งเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำ จังหวัดเชียงใหม่แห่งที่ ๑ โดยมีพระเดชพระคุณพระราชพรหมาจารย์ วิ. (ทอง สิริมงฺคโล) เป็นเจ้าสำนักมีผู้ที่สนใจ เข้ามาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นจำนวนมาก ในช่วงเวลา กว่า ๒๐ ปีมานี้จึงได้มีการสร้างอาคารที่พัก และที่ปฏิบัติธรรมเพื่อรองรับผู้ปฏิบัติธรรม

1688712091897.jpg

แถวที่สอง (ยืน) ๑.ไม่ทราบ ๒. พระวิมลญาณมุนี(หนูถาวโร) เจ้าคณะอำเภอจอมทอง (ภายหลัง ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ ครั้งหลังสุดที่ พระธรรมสิทธาจารย์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่) ๓.พระมหาอาจ อาสโภ ป.ธ.๘ (ภายหลัง ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช) ๔. พระครูพิพัฒน์คณาภิบาล (ทอง สิริมงฺคโล) เจ้าคณะอำเภอฮอด (ภายหลัง ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ ครั้งหลังสุดที่ พระพรหมมงคล วิ. ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๗)

ผู้บริหาร และบุคลากร สำนักวิปัสสนากรรมฐาน
วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร (๒๕๖๒ - ปัจจุบัน)

1.jpg

พระสุวรรณเมธี

(แสวง ปญฺญาปชฺโชโต ป.ธ.๗)

เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร 

Untitled-2.gif

พระอาจารย์มหากฤษดา ฐิตปญฺโญ 

เปรียญธรรม ๙ ประโยค

พระอาจารย์สอบอารมณ์

00019412.jpg

พระอาจารย์พระภาวัฒน์ ภทฺทธมฺโม

ผู้สาธิตการปฏิบัติ

3.jpg

พระศรีศิลปาจารย์

(ประมวล ปญฺญาวโร)

ผู้อำนวยการสำนักวิปัสสนากรรมฐาน

00022410.gif

พระอาจารย์มหาพฤฒิ ปภสฺสโร

เปรียญธรรม ๗ ประโยค

พระอาจารย์สอบอารมณ์

ลำดับที่-11.jpg

พระไพฑูรย์ พุทฺธสรโณ

เจ้าหน้าที่สำนักงานฝ่ายชาย

4.jpg

พระครูโสภณสุวรรณาทร วิ.

(เพชร วชิรญาโณ)

พระอาจารย์สอบอารมณ์

Untitled-1.gif

พระอาจารย์ศิริพล ปณฺฑิโต

พระอาจารย์สอบอารมณ์

ลำดับที่-14.jpg

พระธนกร จิตปุญฺโญ

เจ้าหน้าที่สำนักงานฝ่ายชาย

5.jpg

(สันติ ถาวโร)​

พระอาจารย์สอบอารมณ์

00019426.jpg

พระอาจารย์เรืองกิตติ์ มหาปุญฺโญ

พระอาจารย์สอบอารมณ์

5879F8EF-A98C-45CC-A656-324438209FD9.jpg

พระโชติรัช โชติเทโว

เจ้าหน้าที่ฝ่ายท่างประเทศ

00019406.jpg

(พรพิทักษ์ พุทฺธิญาโณ)

พระอาจารย์สอบอารมณ์

00019422.jpg

พระอาจารย์สาวิทย์  สญฺญโต

พระอาจารย์สอบอารมณ์

00022362.jpg

แม่ชีกัลยา เยาว์วรรณ

เจ้าหน้าที่สำนักงานฝ่ายหญิง

00012837.jpg

พระครูวินัยธรสุขสันต์ สุจิตฺโต

พระอาจารย์สอบอารมณ์

Untitled-1.jpg

พระอาจารย์พูลศักดิ์ สุวฑฺฒโน

พระอาจารย์สอบอารมณ์

สำนักงานวิปัสสนาธุระ

ติดต่อจองห้องพัก 053 34 2184 ผู้ปฏิบัติธรรมชาย ต่อ 11 ผู้ปฏิบัติธรรมหญิง ต่อ 12

ผู้ปฏิบัติธรรมชาวต่างชาติ 

354993400_874861207334433_6698944596582374497_n.jpg

หลักสูตรเราเข้าปฏิบัติ

1. หลักสูตรพื้นฐาน 21 วัน  2. หลักสูตรทวนญาณ 10 วัน

3. หลักสูตรพระวิปัสสนาจารย์  4. คอร์สปฏิบัติธรรมทุกวันเสาร์ 

1 คำนำ.jpg

วิปัสสนาในแนวสติปัฏฐานสี่ คืออะไร

คือ ทางสายเอก สู่มรรคผลนิพานอันได้แก่หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในแนวสติปัฏฐานทั้งสี่ ซึ่งเป็นคำสอนที่สูงสุดขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นทฤษฎีธรรมชาติอันลี้ลับที่พระองค์ทรงค้นพบ เป็นอมตะธรรมที่ช่วยชี้ ขนสัตว์โลกสู่ความพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง โลกเราทุกวันนี้ ยังมีความเร่าร้อนวุ่นวายสับสนยังหนีสิ่งชั่วซึ่งมีมาแต่ดั้งเดิมไปไม่พ้น การดูถูกดูหมิ่น การอิจฉาริษยา การเบียดเบียนกันการทรยศหักหลังการเอารัดเอาเปรียบการคดโกงกันการทะเลาะวิวาทตลอดจนการรบราฆ่าฟันกันยังคงมีอยู่ในหมู่มนุษย์ทั่วไป ความชั่วทั้งหลายเหล่านี้ธรรมชาติมิได้ก่อขึ้นเลยแต่มนุษย์นั้นเองเป็นผู้ก่อบรรดาศาสดาของลัทธิและ ศาสนาต่าง ๆ พยายามจะคิดค้นและวางหลักไว้สำหรับให้มนุษย์ปฏิบัติเพื่อสร้างความสันติสุขให้แก่โลกโดยให้มนุษย์ทำแต่ความดีและให้ละความชั่ว สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาของพระพุทธศาสนาก็ทรงกระทำเช่นนั้นเหมือนกันแต่นอกจากจะทรงสอนให้มนุษย์ทำแต่ความดี ละความชั่วแล้วพระองค์ยังทรงสอนให้มนุษย์ชำระจิตให้บริสุทธิ์อีกด้วยดังปรากฏในคำสอนของพระองค์ที่เรียกว่าโอวาทปาฏิโมกข์คือ สพฺพปาปสฺส อกรณํ การไม่ทำบาปทั้งปวง กุสลสฺสูปสมฺปทา การทำกุศลให้ถึงพร้อม สจิตฺตปริโยทปนํการทำจิตให้ผ่องแผ้ววิธีชำระจิตให้ผ่องแผ้วนี้ไม่มีในคำสอนของศาสดาใดๆ ในโลกมีแต่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้นเพราะพระองค์ทรงเห็นว่าการที่จะไม่ให้มนุษย์ทำชั่วได้อย่างแท้จริงนั้นจะต้องให้มนุษย์ชำระจิตให้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสเสียก่อน เมื่อจิตบริสุทธิ์แล้ว ก็จะไม่ทำความชั่วจะทำแต่ความดีเพราะมูลเหตุที่จะให้ทำความชั่วคือกิเลสได้หมดไปแล้วการชำระจิตให้บริสุทธิ์ตามวิธีปฏิบัติที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงวางไว้เรียกว่ากรรมฐาน และหลักปฏิบัติกรรมฐานที่สมบูรณ์ที่สุดที่ปรากฏในคัมภีร์มหาสติปัฐานสูตร คือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ในแนวสติปัฏฐานทั้งสี่ ทฤษฏีนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่าเป็นหนทางเดียวที่ทำให้จิตบริสุทธิ์หมดจด ทำให้พ้นจากทุกข์และบรรลุมรรคผลนิพพาน สติปัฏฐานสี่แปลตามศัพท์ว่า ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติสี่อย่าง ในทางปฏิบัติสติปัฏฐานทั้งสี่คือการให้สติพิจรณากำหนดรู้อยู่ทุกขณะถึงอาการที่ปรากฏทางกาย เวทนา จิต และธรรม หรือทางเบญจขันธ์แบ่งออกได้เป็นสี่ประเภทคือ ๑ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่การใช้สติพิจารณากำหนดรู้อาการที่ปรากฏทางกาย คือรูปขันธ์เช่นการ เดินจงกลม ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ และการกำหนดลมหายใจ เข้า ออก รู้อาการพองยุบ ของท้องเช่นพองหนอ ยุบหนอ ๒ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่การใช้สติพิจารณากำหนดรู้อาการที่ปรากฏทางเวทนาหรือเวทนาขันธ์เช่น การกำหนดรู้ในเมื่อสุขเมื่อทุกข์ที่เกิดขึ้นว่ากำลังสุขหรือกำลังทุกข์อย่างไร หรือไม่สุขไม่ทุกข์หรือเฉยๆ ก็รู้ชัดแก่ใจ ๓ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่การใช้สติกำหนด พิจารณากำหนดรู้อาการที่ปรากฏทางจิตหรือวิญญาณขันธ์ เช่นกำหนดว่าจิตมีอารมณ์อย่างไร จิตมีราคะ มีโทสะ โมหะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน สงบหรือไม่สงบก็รู้ว่าจิตเป็นอารมณ์ อย่างงั้นๆ ๔ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่การใช้สติพิจารณากำหนดรู้อาการที่ปากฏทางธรรม   คือ   สัญญาขันธ์    สังขารขันธ์ สัญญาขันธ์คือความจำได้หมายรู้ สังขารขันธ์ คือความนึกคิดคือเมื่อเราคิดอะไรอยู่ก็ต้องให้กำหนดรู้ว่าคิดหนอๆ คิดอะไรอยู่ หรือเมื่อเกิดความพอใจไม่พอใจ ง่วงฟุ้งสงสัย ซึ่งเรียกว่านิวรณ์ก็ต้องกำหนดรู้ในอารมณ์นั้นๆ ถ้าจะกล่าวโดยสรุปแล้ว สติปัฏฐานทั้งสี่นั้นไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากการใช้สติพิจารณากำหนดรู้อยู่ทุกขณะจิตในขณะขณะหนึ่ง นั้นเรากำลังทำอะไรอยู่ หรือเรากำลังมีความรู้สึกนึกคิดอะไรอยู่เท่านี้ พิจารณากันเฉพาะในปัจจุบันเท่านั้นไม่พิจารณาย้อนไปถึงอดีต อนาคต แม้สักวินาทีเดียว สติปัฏฐานนี้เป็นหัวใจแห่งคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยแท้ พระองค์ได้ทรงพร่ำสอนสติปัฏฐานแก่สาวกของพระองค์อยู่เนืองนิจนับตั้งแต่ตรัสรู้จนกระทั่งเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ยิ่งกว่านั้นพระองค์ยังได้ทรงรับรองไว้อย่างชัดแจ้งในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า

เอกายโน  อยํ  ภิกฺขเว  มคฺโค สตฺตานํ  วิสุทฺธิยา  โสกปริเทวานํ  สมติกฺกมาย

ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถํ คมาย ยายสฺส  อธิคมาย นิพฺพานสฺส   สจฺฉิกิริยาย  ยทิทํ จตฺตาโร  สติปฏฺฐานาติ ดังนี้เป็นต้น

ความว่า ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลายทางคือสติปัฐานทั้งสี่ นี้ เป็นเป็นทางสายเดียวที่เป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธ์หมดจด

ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อความก้าวล่วงความเศร้าโศกเสียใจพิไรรำพันเพื่อดับทุกข์ดับโทมนัสส เพื่อบรรลุมรรคผลนิพานดังนี้

แม้นพระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย ในอดีตและอนาคตกาลก็ดี ต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จึงจะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ ดังพระบาลีรับรองข้อความตอนนี้ว่า เยเนวะ ยันติ นิพพานัง พุทธา เตสัญจะ สาวกา เอกายเนนะ มัคเคนะ สติปัฏฐานสัญญินาฯ ความว่า พระพุทธเจ้าและเหล่าพระสาวกทั้งหลายย่อมไปสู่พระนิพพาน ด้วยเส้นทางสายเดียว คือสติปัฏฐานทั้งสี่ ดังนี้ อันที่พระองค์ทรงตรัสว่าเป็นเอกยมรรค คือเป็นหนทางสายเอก เพราะว่า ๑ เป็นทางที่พระพุทธเจ้าพระองค์เดียวที่ทรงค้นพบ  ๒ เป็นทางที่มีอยู่ในพระพุทธศาสนานี้แห่งเดียว ๓ เป็นทางที่ ต้องไปคนเดียวคือต้องไปตนเองจะให้ใครไปแทนไม่ได้ ๔ เป็นทางสายเดียวไม่ใช่ทางสองแพร่ง ๕ เป็นทางที่ไปสู่จุดหมายปลายทางแห่งเดียว คือพระนิพพาน ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย ทางที่จะทำให้จิตบริสุทธิ์นั้นมีอยู่ทางเดียวคือทางที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงวางไว้ อันได้แก่สติปัฏฐานทั้งสี่ ถ้าเราปรารถนาจะพาตนให้พ้นทุกข์และประสบสันติสุขอย่างแท้จริงแล้วขอจงประพฤติปฏิบัติวิปัสสนาในแนวสติปัฏฐานทั้งสี่นี่เทอญชีวิตก็จะเข้าถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ ชีวิตที่ไม่มีการประพฤติปฏิบัติธรรมเหมือนกับแผ่นดินที่ว่างเปล่าเหมือนภาชนะที่ปราศจากอาหารย่อมหา ประโยนช์อันใดไม่ได้วัฏฏสงสาร คือการเวียนว่ายตายเกิดนี้เปรียบได้กับมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาลที่มองไม่ห็นฝั่ง สรรพสัตว์ทั้งหลายต่างก็หลงแหวกว่ายวนเวียนอยู่ในห้วงมหรรณพนั้นอย่างปราศจากจุดหมาย แต่หากได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนบรรลุมรรคผลแม้เพียงชั้นต้นเป็นพระอริยะบุคคล ก็เท่ากับว่าได้ว่ายลัดตัดตรงไปสู่ฝั่งมหาสมุทรมองเห็นฝั่งรำไรอยู่เบื้องหน้าแล้ว เมื่อวายต่อไปคือได้ปฏิบัติวิปัสสนาอีกไม่ช้าไม่นานก็จะบรรลุถึงฝั่งคือพระนิพพานได้ดังนี้แล

visitor

สำนักวิปัสสนากรรมฐาน วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร
ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 50160
bottom of page