top of page

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี

เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ 

ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.  ๒๕๓๓ 

พระครูพิพัฒน์คณาภิบาล วัดร่ำเปิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระราชาคณะมีนามว่า พระสุพรหมยานเถร

2-7
2-1
2-2
2-4
2-3
2-6
2-5

อ้างอิง

๑ พระสุพรหมยานเถร
๒ พระราชพรหมาจารย์

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี

เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ 

ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ ในวโรกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ พระสุพรหมยานเถร เป็น พระราชพรหมาจารย์ ไพศาลภาวนานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี พระราชาคณะชั้นราชสถิต ณ วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร พระอารามหลวง จังหวัดเชียงใหม่

1-3
1-1
1-2
1-5
1-9
1-6
1-7
1-4
1-8

อ้างอิง

1-พระสุพรหมยานเถร.jpg
2-พระราชพรหมาจารย์.jpg
๓ พระเทพสิธาจารย์

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี

เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ 

ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
วันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๘
พระราชพรหมาจารย์ เป์น พระเทพสิทธาจารย์ ภาวนาวิธานประยุต วิสุทธิมงคลชัยกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

พระราชาคณะชั้นเทพ สถิต ณ วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร พระอารามหลวง จังหวัดเชียงใหม่
มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ ๕ รูป คือ พระครูปลัด ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูสังฆรักษ์ ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑

3-1
3-2
3-3
3-4
3-5
3-6
3-7
3-8
3-9
3-10

อ้างอิง

3-พระเทพสิธาจารย์.jpg
๔ พระธรรมมังคลาจารย์

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี

เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ 

ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา

วันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๒

พระเทพสิทธาจารย์ เป็น พระธรรมมังคลาจารย์ ภาวนาวิธานประยุต วิสุทธิธรรมโสภณ วิมลศาสนกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี พระราชาคณะชั้นธรรม ฝ่ายวิปัสสนาธุระ สถิต ณ วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร พระอารามหลวง จังหวัดเชียงใหม่ 
มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ ๕ รูป คือ พระครูปลัด ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูสังฆรักษ์ ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑

สถิต ณ วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร พระอารามหลวง จังหวัดเชียงใหม่ มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ ๖ รูป  คือ พระครูปลัดมงคลสิทธิวัฒน์ ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูธรรมธร ๑ พระครูสังฆรักษ์ ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑

4-1
4-2
4-3
4-4
4-5
4-6
4-7
4-8
4-9
4-10
4-11
4-12
4-13
4-14

อ้างอิง

4-พระธรรมมังคลาจารย์.jpg
๕ พระพหมมงคล
5-พระพรหมมงคล.jpg
5-1
5-2
5-3
5-4

ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า โดยที่ทรงพระราชอนุสรณ์คํานึงถึง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระบรมชนกนาถ ซึ่งเสด็จสวรรคต เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๑๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ ว่า ทรงเป็นพุทธมามกะ และอัครศาสนูปถัมภก ทรงใส่พระราชหฤทัยในการทะนุบํารุงและสืบทอดพระพุทธศาสนา โดยทรงพระกรุณาโปรดสถาปนา เลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ถวายแก่ พระสังฆาธิการ ซึ่งดํารงในสมณคุณ มีอุปการะยิ่ง แก่การพระศาสนาเป็นประจําทุกปี

บัดนี้  เพื่อเป็นการบําเพ็ญพระราชกุศลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร จึงสมควรจะสถาปนาอิสริยยศ และเลื่อนอิสริยฐานันดรพระสงฆ์ที่ดํารงอยู่ในสมณคุณ และมีอุปการะยิ่งแก่การพระศาสนาดังกล่าวสูงขึ้น เพื่อจักได้บริหารพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสถาพร ตามโบราณราชประเพณีสืบต่อไป

อนึ่ง  ทรงพระราชดําริว่า  พระธรรมมังคลาจารย์  เป็นพระเถระผู้เจริญในสมณพรหมจรรย์ ได้ศึกษาแตกฉานในอรรถธรรมวินัย สอบได้สําเร็จนักธรรมชั้นเอก และสามารถอ่านเขียนภาษาล้านนา และภาษาพม่าได้เป็นอย่างดี ได้รับปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเอกพระพุทธศาสนา จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารการพัฒนา จากมหาวิทยาลัยนอร์ท จังหวัดเชียงใหม่ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์ศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้รับพระราชทานโล่และเข็มเกียรติคุณ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในด้านอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น ด้านภาษาและวรรณกรรมของไทย ได้รับใบประกาศเกียรติคุณ ด้านการพัฒนาดีเด่นจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้รับรางวัล ครูบาศรีวิชัย ในงานรําลึกถึงพระครูบาศรีวิชัย ครบรอบ ๑๑๒ ปี และได้รับเลือกให้เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติ เป็นทั้งนักบุญและนักพัฒนาแห่งล้านนาไทย ได้รับการถวายเกียรติบัตรเชิดชูให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นในการ ดําเนินงานให้วัด เป็นอุทยานการศึกษาเพื่อเฉลิมฉลอง ๗๐๐ ปี เมืองเชียงใหม่ จากกระทรวงศึกษาธิการ และ รางวัลพุทธคุณูปการ ประเภทวัชรเกียรติคุณ จากสภาผู้แทนราษฎร ทรงพระกรุณาโปรดให้เป็น พระราชาคณะที่พระสุพรหมยานเถร ชั้นราชที่พระราชพรหมาจารย์ ชั้นเทพที่พระเทพสิทธาจารย์ ชั้นธรรมที่พระธรรมมังคลาจารย์ โดยลําดับ ได้รับการถวายสมณศักดิ์จากสังฆสภารามัญมหานิกาย และสังฆสภาสยามนิกาย สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ที่ “พระศาสนโสภณ สิริบวรวิปัสสนา กรรมฐานาจารย์” และต่อมาได้รับการถวายสมณศักดิ์จากรัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาที่ “อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ”  ซึ่งเป็นตําแหน่งสูงสุดของพระสงฆ์สายวิปัสสนากรรมฐานในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ได้รับภาระพระพุทธศาสนาและ

สังวรรักษาสมณวัตรสมควรแก่ตําแหน่งบําเพ็ญกรณียกิจเป็นหิตานุหิตประโยชน์แก่พุทธจักรและ  ราชอาณาจักรโดยอเนกประการ

กล่าวคือ ด้านการบริหารและปกครองคณะสงฆ์ เป็นเจ้าอาวาสวัดเมืองมาง เจ้าอาวาสวัดร่ําเปิง เจ้าคณะอําเภอฮอด และที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร พระอารามหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ปรึกษาสํานักงานกํากับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๗ และผู้อํานวยการศูนย์ศึกษาพระวิปัสสนาจารย์หนเหนือ ด้านการศึกษา เป็นประธานกรรมการ ตรวจข้อสอบธรรมสนามหลวง คณะสงฆ์ภาค ๗ เจ้าสํานักศาสนศึกษา เจ้าสํานักวิปัสสนากรรมฐานและ  หัวหน้าพระวิปัสสนาจารย์ประจําสํานักวิปัสสนา  วัดพระธาตุศรีจอมทอง  วรวิหาร  พระอารามหลวง

จังหวัดเชียงใหม่ เจ้าสํานักปฏิบัติธรรมประจําจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ ๑ และเป็นพระวิปัสสนาจารย์  ประจํามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ได้ให้รวบรวมและชําระ พระไตรปิฎกที่กระจัดกระจายอยู่ตามวัดต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านนํามาปริวรรต เป็นอักษรธรรมล้านนา (ภาษาบาลี) รวมทั้งได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยปริวรรต พระไตรปิฎก ปริวรรตคัมภีร์ฎีกาและอนุฎีกา และปริวรรตคัมภีร์อรรถกถาเป็นอักษรธรรมล้านนา (ภาษาบาลี) จัดพิมพ์และมอบให้วัดและหน่วยงานต่าง ๆ ได้จัดให้มีการเรียนการสอนโดยจัดหาครูสอนที่มีความรู้ระดับเปรียญเอก (ป.ธ. ๙) เพื่อความเชื่อมั่นและเป็นกําลังใจแก่ผู้เข้ารับการศึกษาพระปริยัติธรรม  ทําให้มีผู้สอบได้แผนกธรรมและแผนกบาลี ในช่วงปี ๒๕๕๖ - ๒๕๕๙ รวม ๒๐๐ ราย ด้านการศึกษา สงเคราะห์ ได้จัดให้มีการส่งเสริมการศึกษา โดยให้จัดตั้งกองทุนส่งเสริมนักเรียนบาลี เพื่อเป็นสวัสดิการด้านอุปกรณ์การเรียนการสอน เครื่องอุปโภคบริโภค จัดหาทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนผู้สอบได้ทั้งแผนกธรรมบาลีและอภิธรรม นอกจากนี้ ยังได้จัดหางบประมาณดําเนินการตามโครงการบรรพชาสามเณร ภาคฤดูร้อน หากุลบุตรที่สนใจเรียนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรม - บาลี เข้ามาศึกษาในสํานักศาสนศึกษารวมทั้งจัดให้มีการเพิ่มทุนการศึกษาปริยัติบาลีแก่พระภิกษุสามเณร วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร พระอารามหลวง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นประจําทุกปี ด้านการสาธารณูปการ เป็นประธานกรรมการ จัดหาทุนทรัพย์ในการบูรณะต่อเติมศาลาธรรมสามัคคี (ศาลาการเปรียญ) ระบบประปาของวัดและ สํานักงานวิปัสสนากรรมฐาน ได้จัดให้มีการก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร พระอารามหลวง จังหวัดเชียงใหม่ โดยการจัดหาทุนทรัพย์ในการก่อสร้างกุฏิวิปัสสนากรรมฐานและ ห้องสอบอารมณ์ มหาศาลา “หทัยนเรศว์ร” ศาลาอเนกประสงค์ “ประชาสามัคคี” ศาลาปฏิบัติธรรม “บุญญาภิภัทร” อาคารสํานักงานวิปัสสนากรรมฐาน ร้านค้าชุมชน ห้องสุขา และรั้วศิลาแลง รวมทั้ง จัดหาทุนทรัพย์ในการจัดซื้อที่ดินเพื่อขยายสํานักวิปัสสนากรรมฐาน ด้านการสาธารณสงเคราะห์ ได้ร่วมกับคณะสงฆ์และเป็นประธานกรรมการจัดหาทุนทรัพย์สร้างตึกเรียนเฉลิมพระเกียรติโรงเรียนศรีจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา (ตึกสงฆ์อาพาธ) โรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์เพื่อการรักษาพยาบาล ด้านการเผยแผ่ พระพุทธศาสนา ได้ให้จัดตั้งวัดและสํานักวิปัสสนา ซึ่งเป็นสาขาของวัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร พระอารามหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ทั่วประเทศ จํานวน ๗๖ สาขา และในทวีปอเมริกาและยุโรป  จํานวน ๒๒ สาขา โดยได้จัดอบรมพระวิปัสสนาจารย์ และส่งไปสอนวิปัสสนากรรมฐานตามสํานัก สาขาต่างๆ ดังกล่าว รวมทั้งได้รับอาราธนาไปสอนวิปัสสนากรรมฐานในต่างประเทศ อาทิ สหราชอาณาจักร สมาพันธรัฐสวิส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เป็นประธาน  เชิญพระไตรปิฎกฉบับภาษาล้านนาไปประดิษฐาน ณ วัดไทยพุทธคยา สาธารณรัฐอินเดีย และเป็น ประธานศูนย์อบรมและปฏิบัติธรรมให้แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษาต่าง ๆ และ บุคคลทั่วไป โดยดําเนินการตามโครงการปฏิบัติธรรม โครงการอบรมคุณธรรม จริยธรรม เช่น โครงการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของนิสิตปริญญาโท - เอก ศูนย์บัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ โครงการปฏิบัติธรรม ส่งเสริมคุณธรรมนําข้าราชการไร้ทุจริต เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคม และโครงการฝึกอบรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเสริมสร้างพลังแผ่นดิน สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นต้น

สรรพกรณียกิจที่ พระธรรมมังคลาจารย์ ได้ปฏิบัติบําเพ็ญมาโดยตลอด ปรากฏผลดีและ  เจริญก้าวหน้าแก่พระพุทธศาสนา ประเทศชาติและประชาชนทั่วไป นับได้ว่าเป็นผู้เสียสละและมุ่งมั่นในงาน บัดนี้ พระธรรมมังคลาจารย์ เป็นผู้เจริญด้วยพรรษายุกาล รัตตัญญูเถรกรณธรรม มีจริยวัตรเป็นที่ เคารพสักการะเลื่อมใส สมควรที่จะได้รับการยกย่องให้ดํารงสมณฐานันดรสูงขึ้น

จึ่งมีพระราชโองการโปรดสถาปนา พระธรรมมังคลาจารย์ ขึ้นเป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมมงคล ภาวนาโกศลสุพพิธาน วิปัสสนาบริหารพิสุทธิ์ ปาวจนุตตมานุศาสน์ คัมภีรญาณพิลาสธํารง มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิต ณ วัดพระธาตุศรีจอมทอง  วรวิหาร พระอารามหลวง จังหวัดเชียงใหม่ มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ ๘ รูป คือ พระครูปลัดสุวัฒนมงคลสิทธิคุณ อดุลธรรมาภิบาล ศาสนสุพพิธานสังฆานุนายก ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูธรรมธร ๑ พระครูพิจิตรสรการ พระครูคู่สวด ๑ พระครูพิศาลสรคุณพระครูคู่สวด ๑ พระครูสังฆภารพิชัย ๑  พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑

ขออาราธนาพระคุณผู้ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณฐานันดร เพิ่มอิสริยยศ ในครั้งนี้ จงรับธุระ  พระพุทธศาสนา เป็นภาระสั่งสอน ช่วยระงับอธิกรณ์ และอนุเคราะห์พระภิกษุสามเณรในคณะและใน พระอาราม ตามสมควรแก่กําลัง และอิสริยยศซึ่งพระราชทานนี้ และจงเจริญอายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ คุณสารสิริสวัสดิ์ จิรัฏฐิติ วิรุฬหิไพบูลย์ ในพระพุทธศาสนาเทอญ

ประกาศ ณ วันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ เป็นปีที่ ๑ ในรัชกาลปัจจุบัน

เครื่องประกอบสมณศักดิ์ พระพรหมมงคล

บาตร ฝาบาตร

เชิงบาตร ถมปัด

630312 ค่ำ (1 of 6).jpg
630312 ค่ำ (6 of 6).jpg

หิรัญบัฏจารึกราชทินนาม

พระพรหมมงคล ภาวนาโกศลสุพพิธาน วิปัสสนาบริหาร

พิสุทธิ์ ปาวจนุตตมานุศาสน์  คัมภีรญาณพิลาสธํารง มหาคณิสสร

บวรสังฆาราม คามวาสี พระราชาคณะเจ้าคณะรอง เถิต ณ

วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร พระอารามหลวง จังหวัดเชียงใหม่

 จิรัฏฐิติกาล ในพระพุทธศาสนาเทอญ

หีบตราจักรี

630312 ค่ำ (2 of 6).jpg

ขันน้ำ พานรอง ถมปัด

คลุมตาดรูปฝาชี 

630312 ค่ำ (1 of 1).jpg

กาถมปัด ทรงกระบอก

กระโถนถมปัด

5-1
5-2
5-3
5-4
5--5
5-6
5-7
5-8
5-9
5-10
5-11
5-12
5-14
5-13
5-15

อ้างอิง

๖ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
6-1.jpg

วันอาทิตย์ที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จไปทรงปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์วางศิลาฤกษ์พระธาตุเจดีย์ และทรงพระราชทานนามวัดว่า  

วัดสิริมังคลาจารย์

ทรงมีพระราชปฏิสันถาร กับหลวงปู่ว่า

“ขอฝากพระพุทธศาสนากับพระคุณเจ้าด้วย”

6-2.jpg
6-สมเด็จย่า.jpg

อ้างอิง

หนังสือสิริมงฺคลมหาเถร (หลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล)

เนื่องในงานอายุวัฒนมงคล ๙๒ ปี ๗๒ พรรษา หน้า ๒๔๖

7-2.jpg
7-1.jpg
7-3.jpg

วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๓

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมา 

ทรงยกยอดฉัตรพร้อมทอดพระเนตร พร้อมทอดพระเนตร 

อ้างอิง

หนังสือสิริมงฺคลมหาเถร (หลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล)

เนื่องในงานอายุวัฒนมงคล ๙๒ ปี ๗๒ พรรษา หน้า ๑๒๗

๗ รัชกาลที่ ๙

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปี

๘ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
7-ร.9.jpg
8-ราชินี-ร.9.jpg

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ

พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

๙ รัชกาลที่ ๑๐
9-ร.10.jpg

สำนักวิปัสสนากรรมฐาน

วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร

    สำนักปฏิบัติธรรมวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหารก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔ โดย พระเดชพระคุณพระพรหมมงคล วิ. (พระอาจารย์ทอง สิริมงฺคโล) ซึ่งในขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสุพรหมายาน วิ. ซึ่งได้รับพระบัญชาจากสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร


จึงได้ทำการฟื้นฟูและส่งเสริมการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในแนวสติปัฏฐาน ๔ โดยริเริ่มก่อตั้งเป็นสำนักปฏิบัติธรรมขึ้น มีการซื้อที่ดินขยายพื้นที่ในการก่อสร้างกุฏิ  อาคาร และศาลาต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานซึ่งมีผู้สนใจมาฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกันเป็นจำนวนมาก

ปัจจุบันสำนักปฏิบัติธรรมวัดพระธาตุศรีจอมทอง  สามารถรับรองผู้เข้าปฏิบัติธรรม หรือ กลุ่มคณะบุคคลผู้สนใจได้ พร้อมกันเป็นจำนวนมากอีกทั้งในยังเป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่สามารถผลิตบุคคลากรด้านวิปัสสนา ซึ่งเรียกว่า พระวิปัสสนาจารย์ ส่งออกไปเผยแผ่ได้เป็นจำนวนมาก

๑๐ หลวงปู่เดินจงกลม
SongNam-0206.jpg

ปฏิบัติธรรม

 การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

  •  วัดพระธาตุศรีจอมทองมีการปฏิบัติธรรม 2 หลักสูตรคือ

        1.หลักสูตรพื้นฐานของการปฏิบัติธรรม 21 วัน หากไม่มี  เวลาพอสามารถปฏิบัติธรรมได้ตั้งแต่ 3 วันจนถึง 21 วัน 2.หลักสูตรทวนญาณ 10 วัน 

        (ต้องผ่านการปฏิบัติพื้นฐาน ๒๑ วันก่อน)

  •  มีสมาทานศีล 8 ขึ้นพระกรรมฐานทุกวัน ยกเว้นวันพระ

  • มีสอบอารมณ์(รายงานผลการปฏิบัติ)กับพระวิปัสสนาจารย์ทุกวัน ยกเว้นวันพระ

  • ที่พักแบบเดี่ยว และแบบคณะ แจ้งสำนักงานวิปัสสนาฯ เพื่อตรวจสอบห้องพัก 

  • จัดอบรมโครงการปฏิบัติธรรม ติดต่อสอบถาม พระศรีศิลปาจารย์ 095-414-5445​

ผู้เข้าปฏิบัติธรรมต้องแจ้งวันและเวลาที่จะเข้าปฏิบัติฯ ระยะเวลาที่ต้องการเข้าปฏิบัติฯ เพื่อตรวจสอบกุฏิสำหรับเข้าปฏิบัติให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่เข้าปฏิบัติฯ เพราะมีผู้เข้าปฏิบัติเป็นจำนวนมาก

สิ่งที่ต้องเตรียม

  • บัตรประชาชน , หนังสือสุทธิ(สำหรับพระ),
    พาสปอร์ต(สำหรับชาวต่างชาติ)​

  • ชุดขาว , ของใช้ส่วนตัว , ยารักษาโรคประจำตั

 **​ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าปฏิบัติ** 

๑๑ หลวงปู่นั่งสมาธิ
12.jpg

พ.ศ. ๒๔๙๓ พระเดชพระคุณพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ ป.ธ.๘) สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง  อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร ได้เดินทางมาตรวจการคณะสงฆ์หนเหนือในฐานะสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง โดยมีท่านพระครูประกาศสมาธิคุณ หรือ พระครูธรรมบาล (สังเวียน ญาณเสวี) เจ้าคณะ ๒๕  วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ฯ เป็นพระอนุจรติดตามมาด้วย ในครั้งนี้เองพระปลัดทอง ได้รู้จักกับท่านพระครูประกาศสมาธิคุณ

ภัททันตะ อาสภมหาเถระ 

 ธัมมาจริยะ อัคคมหากัมมัฏฐานาจาริยะ 

พระธรรมทูตแห่งวิปัสสนาวงศ์ 

พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ

พ.ศ. ๒๔๙๕  พระเดชพระคุณพระพิมลธรรมได้ส่งพระมหาโชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙ไปศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในแนวปฏิบัติแบบมหาสติปัฏฐานหรือที่รู้จักกันในนามสาย “พองหนอ      ยุบหนอ”  ที่สำนักศาสนยิสสาของท่านพระวิปัสสนาจารย์เอกนามว่า พระภัททันตะ โสภณมหาเถระ อัคคมหาบัณฑิต (พระอาจารย์มหาสีสยาดอ) กรุงย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เป็นเวลา ๑ ปี  เมื่อพระมหาโชดก  ญาณสิทฺธิ กลับมาได้นิมนต์ พระวิปัสสนาจารย์จากสหภาพเมียนมาร์มาช่วยเผยแผ่วิปัสสนากรรมฐานที่ประเทศไทย  อีก  ๒  รูป  คือ  พระภัททันตะ อาสภเถระ ปธานกัมมัฏฐานาจริยะ และ พระอินทวังสเถระกัมมัฏฐานาจริยะ  โดยมีการเปิดสอนครั้งแรก ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ฯ กรุงเทพ ฯ 

พ.ศ. ๒๔๙๖ พระเดชพระคุณพระพิมลธรรมได้ประกาศตั้งวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ฯ ให้เป็นสำนักปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานโดยกำหนดเอาภายในบริเวณพระอุโบสถเป็นสถานที่ปฏิบัติ      พระเดชพระคุณพระพิมลธรรมได้เดินทางมาเลือกหาพระสังฆาธิการเพื่อเข้ารับการฝึก
อบรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน  และ มอบหมายให้พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระเทพมุนี 
(ฟู อตฺตชีโว ป.ธ.๖) เจ้าคณะตรวจการภาค ๕ เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร เลือกสรรพระภิกษุผู้สนใจในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อเข้ารับการอบรมหลักสูตรวิชาวิปัสสนากัมมัฏฐานที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ฯ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพ ฯ

11.jpg

“สังฆมนตรีว่าการปกครอง  พระครูประกาศสมาธิคุณ คณะ ๒๕   มาเผยแผ่วิปัสสนาเพราะท่านเจ้าประคุณสมเด็จเป็นสังฆมนตรีไปประชุมที่พม่าแล้วท่านก็เอาวิปัสสนามาเผยแผ่ในประเทศไทย ท่านไปทุกจังหวัด ให้เจ้าคณะจังหวัด ส่งเสริมคัดเลือกให้เอาพระเณรไปปฏิบัติที่วัดมหาธาตุฯ ทางเชียงใหม่ท่านส่งอาจารย์ไปรูปเดียว  ในวัดมหาธาตุฯ จัดที่พักสำหรับผู้มาปฏิบัติไว้เป็นห้อง ๆ พออาจารย์ไปปฏิบัติที่วัดมหาธาตุฯ ได้ ๓ เดือน จนออกพรรษา ในการปฏิบัติ วันแรกเขาไม่ให้ฉันข้าวเยอะ ได้แค่ถ้วยเล็ก ๆ ใส่ปินโต อาจารย์อธิษฐานฉันวันแรก ๑ ช้อน วันที่ ๒ ฉัน ๒ ช้อน วันที่ ๓ ฉัน ๓ ช้อน จนถึงวันที่ ๓๐ ฉัน ๓๐ ช้อน  หลังจากนั้นก็ฉันปกติจนครบพรรษา เดินจงกรมนั่งสมาธิ เก็บอารมณ์อย่างเดียว ไม่ออกไปทำวัตรสวดมนต์เลย  เข้าอธิษฐาน ๓ วัน  ก่อนหน้านั้น ให้นอน ๔ ชั่วโมง แล้วในวันเข้าอธิษฐาน ๓ วัน ไม่ให้นอน ไม่ให้อาบน้ำ แต่ก็แปลกที่มันไม่ง่วง ไม่เพลียเลย” เมื่อผ่านการทวนญาณต่างๆ ครบแล้ว ก็เป็นอันจบหลักสูตร ท่านได้รับใบประกาศนียบัตรว่าเป็นผู้จบหลักสูตรวิปัสสนากัมมัฏฐาน พร้อมทั้งได้อบรมวิชาครู 

ฝ่ายหลวงพ่อพระเทพมุนีก็ได้เฟ้นหาพระสังฆาธิการผู้ที่มีความเหมาะสมเห็นว่า พระปลัดทอง สิริมงฺคโล  มีใจใคร่ในการปฏิบัติ จึงคัดเลือก พระปลัดทอง สิริมงฺคโล อายุ  ๒๙ พรรษา ๘ ให้เป็นตัวแทนพระสังฆาธิการเพียงรูปเดียวของคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ ให้ไปรับแนวปฏิบัติกัมมัฏฐาน เพื่อนำมาเผยแผ่แก่ผู้สนใจต่อไป ครั้นถึงเวลาที่จะต้องเดินทางไปวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ฯ ด้วยความที่เป็นห่วงพระปลัดทอง ท่านพระครูคัมภีรธรรม พระอุปัชฌาย์ จึงตามมาส่งพระปลัดทองถึงสำนักวัดมหาธาตุฯ เลยทีเดียว  โดยในครั้งนั้นเดินทางโดยรถไฟ ได้พักอยู่กับท่านพระครูประกาศสมาธิคุณ  เจ้าคณะ ๒๕ ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ฯ ตลอดระยะเวลาที่เข้ารับการฝึกอบรม และได้ปฏิบัติวิปัสสนาในแนวสติปัฏฐาน ๔ ที่นี่เป็นเวลา ๑ ปี

 

“ที่เรียนที่มหาธาตุได้เรียนกับท่านอาจารย์ภัททันตะ อาสภะ  และเจ้าคุณโช เท่านั้น  ปิดประตูโบสถ์เข้าไปสอนในโบสถ์มี ๑๐ รูป เท่านั้น  ท่านแจกตำราเรียนวิชาครูเล่มแดง ในครั้งนั้นผู้ที่เรียนวิชาครูก็มีเจ้าคุณธรรมธีรราชมหามุนี กับอาจารย์ แล้วก็รูปอื่น อีก ๘ รูป จำไม่ได้แล้ว จำได้แค่ท่านเจ้าคุณโชดก ท่านอาจารย์ใหญ่” 

อ้างอิง

หนังสือสิริมงฺคลมหาเถร (หลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล)

เนื่องในงานอายุวัฒนมงคล ๙๒ ปี ๗๒ พรรษา หน้า ๕๐

๑๒ ภัททันตะ อาสภมหาเถระ - พระธรรมธีรราชมหามุนี

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกพระองค์ที่ ๑๙

แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  สถิต  ณ  วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า

กรมหลวงวชิรญาณสังวร

พ.ศ. ๒๕๓๔  สมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ทรงมีพระบัญชาแต่งตั้ง พระสุพรหมยานเถร วิ.(สย.) อายุ ๖๗ พรรษา ๔๗ วิทยฐานะ น.ธ.เอก ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดพระธาตุศรีจอมทอง  วรวิหาร 
อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่  เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๔ โดยมีพระอนุจรติดตามมา ๓ รูปคือ 


๑. พระมหาแสวง ปญฺญาปชฺโชโต (นวลใจ) จากวัดเทพากร แขวง         บางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
๒. พระสมุห์สุทัศน์  สุธมฺโม  และ 
๓. พระใบฎีกานพพันธ์ ฐิตธมฺโมวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) เชียงใหม่ 
    
    “ต่อมาสังฆราชได้มีคำสั่งให้อาจารย์มาเป็นเจ้าอาวาสที่นี่  อาจารย์ก็ยึดเอาคำของพระพุทธเจ้า ที่ว่า  อปริหานิยธรรม  ข้อที่ ๔  ว่า  ต้องเชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้เป็นหัวหน้า ผู้เป็นประธานในสงฆ์  อาจารย์ก็ปฏิบัติตาม  คำสอน  ให้ไปอยู่ที่ไหนเราก็ไม่ว่าขอให้ได้ปฏิบัติธรรม ที่นั้นเป็นที่ที่รื่นรมย์  ดังคำสอนของพระพุทธองค์ตรัสว่า พระพุทธองค์ ถามว่า ป่านี้ใครสมควรได้อยู่พระโมคคัลนะกล่าวว่า ผู้มีอภิธรรมควรอยู่  พระสารีบุตรบอก ผู้มีปัญญาควรอยู่  พระอานนท์บอกว่า ผู้มีตาทิพย์ควรอยู่  แต่พระพุทธองค์ตอบว่า  คำกล่าวของท่านเป็นสุภาษิต  แต่ขอให้ฟังคำของเราบ้าง  เราว่า ที่ใดเป็นที่ปฏิบัติธรรมที่นั่นเป็นที่รื่นรมย์  ที่ควร ถามว่าอยู่ที่ไหนไม่ปฏิบัติ อยู่ที่ไหนก็ไม่ดี  อาจารย์เอาข้อนี้แหล่ะว่าเราอยู่ที่ไหนก็ได้”

๑๓ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกพระองค์ที่ ๒๐

แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  สถิต  ณ  วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร 

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ

(อัมพร อมฺพโร)

14.jpg

รูปเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๗

เมื่อครั้ง เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์

กรรมการมหาเถรสมาคม ได้โปรดประทานพระเมตตา

รับเป็นองค์ประธานยกช่อฟ้าเอก อุโบสถวัดร่ำเปิง

(ตโปทาราม) ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ ซึ่งสร้างด้วย

ไม้สักทองทั้งหลัง ในงานวันนั้น พระเดชพระคุณ

พระพรหมมงคล วิ. เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์

พระธรรมมังคลาจารย์ ถวายการต้อนรับและร่วมในพิธีดังกล่าว

 


ในกาลก่อน เจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช จะเอ่ยถึง

หลวงปู่ ว่าหลวงพี่ หรือตุ๊พี่ จนกระทั่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณ สถาปนาที่ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ แล้วนั้นจึงเปลี่ยนเป็น


เจ้าคุณพี่... สมเด็จน้อง... นับแต่บัดนั้น

๑๔ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ

อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

 อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร, 

อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

พ.ศ. ๒๔๙๘  รัฐบาลแห่งสหภาพเมียนมาร์จัดให้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๖ ที่นครย่างกุ้ง และกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน ๒ ปี ให้ทัน ๒๕ พุทธศตวรรษ พ.ศ. ๒๕๐๐ ในงานอันยิ่งใหญ่ทางพุทธศาสนาครั้งนี้ รัฐบาลเมียนมาร์ได้แต่งตั้งให้พระภิกษุผู้ทรงภูมิรู้ ภูมิธรรม และมีเกียรติยศสูงสุด ทำหน้าที่สังคายนา คือ
 

๑. พระอาจารย์โสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) เป็นผู้ถามข้อความในพระไตรปิฎกทำหน้าที่อย่างท่าน พระมหากัสสปเถระ ผู้เป็นประธานในคราวปฐสังคายนา
๒. พระอาจารย์ปิฏกาธารมหาเถระ  เป็นผู้วิสัชนาข้อความในพระไตรปิฎก  โดยมีหน้าที่เหมือนอย่างท่านพระอุบาลีเถระและท่านพระอานนทเถระ 

ในช่วงที่ หลวงปู่ศึกษาการปฏิบัติอยู่ที่เมียนมาร์นั้นนับเป็นโอกาสดีที่ท่านได้รับรู้และเห็นการให้ความสำคัญกับการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๖ หรือ ฉัฎฐสังคายนา ซึ่งทางคณะสงฆ์เมียนมาร์จัดขึ้นที่วัดกำมะเอ คณะสงฆ์ไทยที่ไปร่วมในครั้งนั้นอาทิเช่น พระพิมลธรรม (อาจ อาสภมหาเถร ป.ธ.๘)  พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ ป.ธ. ๓) หรือ หลวงพ่อพุทธทาส

 

“ในคราวครั้งนั้นอาจารย์เองก็มีโอกาสพบกับพระมหาเกี่ยว  อุปเสโณ ป.ธ.๙ วัดสระเกศ  ที่พม่าในขณะที่ไปร่วมการสังคายนาพระไตรปิฎกโลกเป็นการนิมนต์พระสงฆ์จากทั่วโลก เจอท่านที่วัดกำมะเอ ตอนนั้นสมเด็จฯเป็นพระสังคีติ อาจารย์ได้ไปเที่ยวตลาดด้วยกันไปซื้อพระบัวเข็ม ได้คุ้นเคยไปไหนมาไหนด้วยกัน ช่วงสังคายนาพระไตรปิฎกที่ประเทศเมียนมาร์ นั่นเอง

เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์นั้นมีความคุ้นเคยสนิทสนมกันกับหลวงปู่มาตั้งแต่นั้นดังคำกล่าวสัมโมทนียกถาว่า 

“พระเถระที่สามารถเจริญรอยตามพระพุทธยุคลบาท อย่างท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ หรือส่วนใหญ่ก็เรียกกันว่า  ท่านอาจารย์ทอง  อาตมาก็เรียกท่านอย่างนั้นเหมือนกันว่า ท่านอาจารย์ทอง  และเรียกมานานแล้ว ไม่ใช่พึ่งเรียกวันนี้ และก็เรียกมาอย่างนี้ตั้งแต่ปี ๒๕๐๐ จนกระทั่งถึงเวลานี้ ก็เท่ากับ ๕๒ ปี ก็เรียกอาจารย์ทองมาอย่างนี้  เรียกตั้งแต่ท่านยังหนุ่ม อาจารย์ก็ยังหนุ่ม  ก็เรียกมาอย่างนี้ด้วยความคุ้นเคย และได้เห็นว่า ท่านเจ้าคุณท่านได้พยายามทำทุกอย่างให้ได้เกิดความดีในใจของท่านก่อน แล้วจึงจะปฏิบัติเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น อย่างพี่น้องชาวเชียงใหม่จะทราบว่า ถ้าพูดถึงเจ้าคุณในเมืองเชียงใหม่เดิมท่านอยู่วัดเมืองมาง อาตมาก็รู้จักกับท่านตั้งแต่อยู่วัดเมืองมางเหมือนกัน” 

อ้างอิง

หนังสือสิริมงฺคลมหาเถร (หลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล)

เนื่องในงานอายุวัฒนมงคล ๙๒ ปี ๗๒ พรรษา หน้า ๕๕

๑๕ สมเด็จพระพุฒาจารย์
17.jpg

สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)

เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ (พระอารามหลวง) ประธานสมัชชามหาคณิสสร 

๑๖ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ)

 อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ, อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๖

๑๗ พระอุบาลีคุ